เถาเอ็นอ่อน คืออะไร

   เถาเอ็นอ่อน คือพืชที่เป็นเครือเลื้อยตามต้นไม้ แต่ไม่ใช่แบบเครือเถาวัลย์เล็กๆ เป็นเครือเถาวัลย์ขนาดใหญ่ เลื้อยพาดกับต้นไม้อื่น เครือเถาเอ็นอ่อน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ เครือเถาเอ็น เครือเขาเอ็น ภาคอิสานเรียก เครือเขาควาย เครือเอ็นอ่อน เสน่งกู ภาคใต้เรียก หญ้าลิเลน ภาคกลางเรียก เมื่อย เป็นต้น ราก เถา และ ใบ มีรสขมเบื่อเอียน เป็นยาเย็น มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาฟอกเลือด ส่วน เมล็ดมีรสขมเมา เป็นยาขับลมในลำไส้และในกระเพาะอาหาร ทำให้ผายและเรอ ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง

เถาเอ็นอ่อน    เครือเถาเอ็นอ่อน ส่วนที่นิยมนำมาปรุ่งเป็นยาสมุนไพรจะใช้ลำต้นหรือเครือ หั่นเป็นท่อนๆ ใช้ต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยาบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้อาการปวดบวม ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง แก้ขัดยอก

เถาเอ็นอ่อน    เถาเอ็นอ่อน สรรพคุณหลัก แก้ปวดเมื่อย คลายเส้น เถาเอ็นอ่อนอยู่ในตำรับยาสมุนไพรไทย ได้บรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ให้เป็นส่วนประกอบหลักใน ตำรับยาผสมโคคลาน ซึ่งเป็นยารักษากลุ่มอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
รายละเอียดที่ระบุใน บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2558
(4) ยาผสมโคคลาน ยาชง (รพ.) ยาต้ม (รพ.)

สูตรตํารับที่ 3
รูปแบบ        ยาต้ม
สูตรตํารับ   ในยา 100 กรัม ประกอบด้วย เถาโคคลาน เถาเอ็นอ่อน แก่นฝาง เถาสะค้าน หนักสิ่งละ 20 กรัม โด่ไม่รู้ล้ม ทองพันชั่ง (ทั้งต้น) หนักสิ่งละ 10 กรัม
ข้อบ่งใช้      บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

ขนาดและวิธีใช้   ชนิดชง
      รับประทานครั้งละ 1 กรัม ชงน้ําร้อนประมาณ 120 - 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ขนาดและวิธีใช้   ชนิดต้ม
      นําตัวยาทั้งหมดมาเติมให้น้ําท่วมตัวยา ต้มน้ำเคี่ยว สามส่วนเหลือหนึ่งส่วน ดื่มครั้งละ 120 - 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

   สมุนไพรเถาเอ็นอ่อน ได้ถูกนำไปประกอบผสมในสมุนมากมายหลายตำรับ เพื่อใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น แบบยาน้ำบรรจุขวด แบบแคปซูล แบบพงชงดื่ม แบบยาหม่องครีมนวด แบบน้ำมันนวด รวมทั้งแบบยาชุม ยาชุดสำหรับนำไปต้มแบบโบราณ

เถาเอ็นอ่อน

   เถาเอ็นอ่อน ข้อมูลจาก กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข

1. ชื่อสมุนไพร เถาเอ็นอ่อน (THAO EN ON)

2. ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptolepis dubia (Burm.f.) M.R.Almeida ชื่อวงศ์ Asclepiadaceae

3. ชื่ออื่น เครือเขาเอ็น ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ), เมื่อย (ภาคกลาง), นอออหมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พรมทัต (จันทบุรี), หญ้าลิเลน (ปัตตานี), หมอนตีนเป็ด (สุราษฎร์ธานี)

4. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
  * ไม้เถา มียางขาวข้น เปลือกสีเทาอมน้ำตาล
  * ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 6-18 เซนติเมตร ปลายแหลมมีติ่งเรียว แหลม โคนแหลมหรือมน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมันเกลี้ยง ด้านล่างสีจางกว่า ก้านใบยาว 0.5-2 เซนติเมตร
  * ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ช่อยาว 2-4 เซนติเมตร ก้าน ใบประดับและใบ ประดับย่อย ดอก สีขาวอมสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อม ติดกันเป็นหลอดเรียว ปลายแยก 5 แฉก รูปใบหอก ปลายแหลม ขอบกลีบซ้อนเหลื่อมแบบเวียนซ้ายในดอกตูม เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่เหนือวงกลีบมี 2 อัน แยกอิสระ แต่ละอันมี 1 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มเล็กมาก
  * ผล แบบผลแห้งแตกแนวเดียว เป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอกปลายเรียวแหลม กว้าง 0.8-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร
  * เมล็ด แบน รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายด้านหนึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่

5. ส่วนที่ใช้ทำยา เถา

6. สรรพคุณของแต่ละส่วนที่ใช้ทำยา
ตำราสรรพคุณยาไทยว่า เถาเอ็นอ่อน มีรสขมเบื่อมัน บำรุงเส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้ขัดยอกคลายเส้น

7. รายงานการวิจัยปัจจุบัน
ข้อมูลการศึกษาฟรีคลินิกพบว่า สารสกัดเถาเอ็นอ่อนด้วยเอทานอลร้อยละ 50 มีฤทธิ์ต้านอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังในหนูแรต

8. สารสำคัญ
เถาเอ็นอ่อนมีองค์ประกอบเป็นสารกลุ่มแอลคาลอยด์ (alkaloids) เช่น บิวแคนานีน (buchananine) นิโคทิโนอิลกลูโคไซด์ แอลคาลอยด์ (nicotinoylglucoside alkaloid) 1,3,6-โอ-ไทรนิโคทิโนอิล-แอลฟา-ดี-กลูโคไพราโนส (1,3,6-O-trinicotinoyl-a-D-glucopyranose) และคริปโทลีพีน (cryptolepine) และมีสารกลุ่มเพรกเนนสเตียรอยด์ (pregnane steroids) เช่น 2 แอลฟา,21-ไดไฮดรอกซีเพรก-4-นีน-3,20-ไดโอน (2a,21-dihydroxypregn-4-ene-3,20-dione) เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบคูมาริน (coumarin) สโคโพลีทิน (scopoletin) แดนทรอน (danthron) บีตา-ซิโทสเตอรอล (B-sitosterol) และสติกมาสเตอรอล (stigmasterol)

9. แหล่งกำเนิด และกระจายพันธุ์
พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทุกภาคตามป่าละเมาะ ที่โล่ง ชายป่า ในต่างประเทศพบที่จีน อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน

10. พื้นที่เหมาะสมในการปลูกในประเทศไทย
   - ลักษณะพื้นที่ พื้นที่ป่าทั่วไป
   - ภาค ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
   - จังหวัด สระบุรีอุดรธานี หนองคาย เพชรบุรี ราชบุรี ปัตตานีแม่ฮ่องสอน

11. การคัดเลือกพันธุ์ (พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย)
   - พันธุ์ที่ใช้เป็นยา พันธุ์พื้นบ้านทั่วไป
   - พันธุ์ที่ใช้เป็นอาหาร ไม่ใช้ทำเป็นอาหาร

12. การขยายพันธุ์
นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เถาเอ็นอ่อนมีฝักเป็นคู่ เมื่อแก่ฝักจะแตกเป็นปุยด้วยนุ่น ปลิวไปตามลม การขยายพันธุ์ นำเมล็ดที่เป็นปุยนุ่นไปเพาะในกระบะประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ เถาเอ็นอ่อนจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อนสูง 10 – 15 เซนติเมตร แยกลงใส่ถุงเพาะชำโดยผสมดินกับปุ๋ยคอกและมะพร้าวสับ

13. การปลูก/สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
   - ฤดูกาลเพาะปลูก เถาเอ็นอ่อนนิยมปลูกในฤดูฝน เพราะจะเจริญเติมโตได้ดี ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
   - การเตรียมดิน เถาเอ็นอ่อนนิยมปลูกตามโคนต้นไม้ใหญ่ หรือตามตอไม้ผุพัง ตามสวนป่า เราจะขุดหลุม กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักก็ได้ผสมคลุกเคล้ากันพร้อมปลูก
   - วิธีการปลูก เมื่อได้ต้นกล้าเถาเอ็นอ่อนในถุงเพาะชำ อายุ 6 – 12 เดือน จะเริ่มเป็นเถายาวแข็งแรงนำลงปลูกได้ ในหลมที่เตรียมไว้กลบดินพูนโคนแล้วปักไม้พยุงต้น เพื่อจะให้เถาเอ็นอ่อนเลื้อยพาดพันต้นไม้ต่อไป

14. การปฏิบัติดูแลรักษา
   - การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยเมื่อรองก้นหลุมแล้ว และให้เมื่อปลูกได้ 6 เดือนอีกครั้ง พร้อมการพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง
   - การให้น้ำ เถาเอ็นอ่อนเป็นพืชทนแล้งได้ดีควรให้น้ำระยะแรก เมื่อเข้าฤดูฝนปล่อยตามธรรมชาติ
   - การกำจัดวัชพืช เถาเอ็นอ่อนควรกำจัดวัชพืชทำปีละ 2 ครั้ง พร้อมกับการใส่ปุ๋ย และพรวนดิน
   - การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูเถาเอ็นอ่อนไม่ค่อยมีแมลงศัตรูพืชรบกวน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ สารกำจัดโรคและแมลงศัตรู

15. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
   - ฤดูกาลการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวได้ทุกฤดูนิยมเก็บเกี่ยวในฤดูแล้งช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน
   - วิธีการเก็บเกี่ย เถาเอ็นอ่อนจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุ 3-5 ปีขึ้นไป โดยตัดเถาขึ้นจากเหนือดิน 1 เมตร เพื่อเอาต้นตอไว้ให้เกิดต้นใหม่อีก
   - การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อได้เถาเอ็นอ่อนมาสด ๆ ต้องรีบสับเป็นแว่นเล็ก ๆ ทันทีถ้าปล่อยไว้แห้งจะสับยาก เพราะจะเหนี่ยวและแข็ง นำไปตากแดด 4 – 5 วัน จนแห้ง และนำไปอบต่อจนแห้งสนิท
   - การบรรจุและการเก็บรักษา เมื่อได้เถาเอ็นอ่อนแห้งแล้ว ให้ใส่ถุงมัดปากให้แน่น หรือใส่กระสอบโปร่ง ๆ ไว้ในห้องมีอุณหภูมิปกติ พร้อมส่งจำหน่ายต่อไป

16. การจำหน่าย
   เถาเอ็นอ่อนสด ราคากิโลกรัมละ 10-50 บาท
   เถาเอ็นอ่อนแห้ง ราคากิโลกรัมละ 60-100 บาท

ข้อมูลด้านบนมาจาก กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข

เถาเอ็นอ่อน

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ (Botanical characteristics)
   เถาเอ็นอ่อน อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นพืชที่มีถิ่น กำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกตามท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือเรียกตีนเป็ดเครือ เชียงใหม่เรียกเครือเขาเอ็น หรือ เครือเจน ภาคตะวนัออกเฉียงเหนือเรียกเครือเอ็นอ่อน ภาค กลางเรียกเมื่อย ส่วนสุราษฎร์ธานีเรียกหมอนตีนเป็ด และ ปัตตานีเรียกหญ้าลิเลน เป็นต้น การขยายพนัธุ์โดยการเพาะ เมล็ด พบได้ตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ หรือบริเวณที่รกร้าง ทั่วไป และในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดสระบุรี
   เถาเอ็นอ่อนเป็นไม้เลื้อยจำพวกเถาเนื้อแข็ง มีเปลือกเถาเรียบสีน้ำตาลแกมดำ เมื่อแก่เปลือก จะหลุดออกมาเป็นแผ่น และทุกส่วนของลำต้นเถาเอ็นอ่อนจะมีน้ำยางสีขาว ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบเถาเอ็นอ่อน แผ่นใบหนา เป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบโค่งมน แต่ปลายใบจะเป็นหนามแหลมๆ ออกมาก แต่ต่างจากใบไม้ชนิดอื่น ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อดอก อยู่ตามซอกใบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน มีดอกย่อยสีเหลืองอ่อน และผลจะออกเป็นฝัก มีลักษณะของฝักเป็นรูปทรงกระสวย กลมยาว ฝักมีเนื้อแข็ง โคนฝักติดกัน ปลายฝักแหลม และภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลถูกปกคลุมด้วยขนสีขาว

เถาเอ็นอ่อน สรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย (Indications of Thai traditional medicine)
   การแพทย์แผนไทยใช้ลำต้นของเถาเอ็นอ่อนมาต้มดื่มเป็นยาบำรุงเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้ขัดยอก แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนใบนำมาโขลกให้ละเอียด แล้วห่อผ้าทำลูกประคบ แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น ช่วยคลายเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ รากนำมาต้มดื่มเป็นยาฟอกเลือด และเมล็ดนำมาต้มดื่มแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร และการแพทย์แผนจีนยังมีรายงานการใช้รากและฝักของเถาเอ็นอ่อนในการรักษาภาวะบวมน้ำและลดไข้ได้อีกด้วย เถาเอ็นอ่อนเป็นพืชสมุนไพรที่การแพทย์แผนไทยใช้ประโยชน์ทางยาเพื่อบำรุงเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้ขัดยอก และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีรายงานการใช้เถาเอ็นอ่อนมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
   เถาเอ็นอ่อนจึงถูกบรรจุเข้าตำรับยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ให้เป็นส่วนประกอบหลักใน ตำรับยาผสมโคคลานซึ่งเป็นยารักษากลุ่มอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (Bureau of drug control: Food and drug administration Thailand, 2015) แต่ปัจจุบันรายงานทางวิทยาศาสตร์ของเถาเอ็นอ่อนเกี่ยวกับการศึกษาฤทธิ์แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็นและ กล้ามเนื้อยังมีน้อย จึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ประโยชน์ในด้านนี้ ของเถาเอ็นอ่อน จากรายงานการศึกษาพบว่าเถาเอ็นอ่อนมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจในการระงับปวด ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ปกป้องกระดูกอ่อน และปกป้องตับ เนื่องจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ดี จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะนำ ไปพัฒนาเป็นยาทางเลือกหรือผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ

เถาเอ็นอ่อน มีใครเคยเห็นยางเถาเอ็นอ่อนไหม หาดูยากนะครับโชคดีที่ได้เข้ามาดูในเว็บนี้ ลักษณะยางจะมีสีขาวข้นแบบนี้ ไม่ค่อยเหนียว เอามีจับดูก็จะเหนียวนิดๆ แล้วซึมแห้งไป ไม่ได้เหนียวเป็นกาวเหมือนยางไม้ทั่วไป

www.เถาเอ็นอ่อน.net
เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลเถาเอ็นอ่อนไว้มากที่สุด